วิธีการคำนวณปริมาตรปูนให้เหมาะสมกับพื้นที่มากที่สุด

การสร้างอาคารด้วยงานปูน  ถือเป็นนวัตกรรมที่นิยมทำกันมานับหลายร้อยปี โดยชนิดของปูนแต่ละประเภทมีส่วนผสมที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน ซึ่งในแต่ละครั้งที่จะเทปูนนั้นถือว่ายุ่งยากซับซ้อนมากนัก อาจจะต้องเตรียมความพร้อมและผสมเองทั้งหมด โดยการผสมนั้นอาจไม่ได้มาตรฐาน จึงส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในงานก่อสร้างได้ และด้วยเหตุนี้เอง ทำให้เกิดบริษัทผสมปูนผสมเสร็จขึ้นมา เพื่อให้งานปูนของอาคารบ้านเรือนต่างๆ เป็นเรื่องที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการจะสั่งปูนเทพื้นที่จอดรถ ถนน หรือลานรอบบ้าน มักจะมีความหนาอยู่ที่ 10 หรือ 15 เซนติเมตร อาจจะต้องมีการคำนวณปริมาตรปูนที่ต้องการสั่งเป็นหน่วยคิวบิกเมตร โดยบทความนี้จะเป็นการแนะนำการคำนวณพื้นที่เพื่อสั่งปูนอย่างไร ให้เหมะสำหรับพื้นที่นั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม

หลักวิธีการคำนวณ

  • ปริมาตรปูน 1 คิว

ปูน 1 คิว (คิวบิกเมตร) ก็คือปริมาตรปูนทรงลูกบาศก์ที่มีความกว้าง 1 เมตร x ยาว 1 เมตร x สูง 1 เมตร (100 ซม. X 100 ซม. X 100 ซม.) ซึ่งเมื่อลองนำมาตัดแบ่งเป็นพื้นหนา 10 ซม. จะสามารถตัดได้ทั้งหมด 10 แผ่น หรือ 10 ตร.ม. หรือหากนำมาตัดแบ่งเป็นพื้นหนา 15 ซม. จะสามารถตัดออกมาได้ 6 แผ่นกว่าๆ หรือประมาณ 6.67 ตร.ม.

  • ปูน 1 คิวสามารถเทพื้นหนา 10 ซม. ได้ 10 ตร.ม. หรือเทพื้นหนา 15 ซม. ได้ 6.7 ตร.ม.

การจะสั่งปูนเทพื้นมาเท แต่ไม่ทราบว่าจะคำนวณการสั่งปูนกี่คิว สามารถวัดขนาดพื้นและความหนาที่ต้องการเทแล้วจากนั้นนำมาคำนวณตามสูตร ก็จะได้ปริมาตรปูนที่ต้องสั่ง (คิว) ตามสูตร ความกว้าง (เมตร) x ความยาว(เมตร) x ความหนา(เมตร) = ปริมาตรคอนกรีต (คิว) ยกตัวอย่างเช่น ขนาดพื้นที่จอดรถ กว้าง 5 ม. ยาว 5 ม. เทพื้นปูนหนา 0.15 ม. (15 ซม.) จะได้ 5x5x0.15 = 3.75 คิว เป็นต้นอย่างไรก็ตาม ปริมาณการสั่งปูนเทพื้นมาเท อาจมีค่าความคลาดเคลื่อนไปจากปริมาณที่คำนวณได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยอาจจะเกิดจากพื้นที่ต้องการเทมีความลาดเอียง (ความหนาพื้นหัวท้ายไม่เท่ากัน) การลำเลียงหรือการเทอาจจะหกล้นระหว่างทางได้ ดังนั้นควรปรึกษากับวิศวกรหรือโฟร์แมนหน้างานว่าควรสั่งปูนเทพื้นเผื่อไว้มากกว่าปริมาณที่ต้องการ เพื่อให้พอดีกับพื้นที่บริเวณดังกล่าวมากที่สุด